ดื่มนมแล้ว ไม่ย่อย หรือ แพ้ ?
มีใครบ้างที่ดื่มนมเมื่อไหร่ มักจะมีอาการท้องไส้ปั่นป่วน ท้องอืด ตัวบวมๆ อึดอัด ไม่สบายท้อง บางคนรุนแรงถึงขั้นท้องเสีย รู้ไหมคะ ว่าเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในคนไทย วันนี้เรามาไขข้อสงสัยนี้กันค่ะ
อาการแพ้นมจะเกิดจากการแพ้โปรตีนในนม ทำให้มีอาการเป็นผื่น คัน ปากบวม ตาบวม อาเจียน หายใจไม่ออก มักเกิดขึ้นกับเด็กเล็ก ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ (Milk Allergy)
สาเหตุที่ ดื่มนมแล้วไม่ย่อยนั้น ไม่ใช่ภูมิแพ้ และไม่ใช่การแพ้นม อย่างที่หลายคนเข้าใจกันค่ะ แต่เป็นเพราะในร่างกายคนไทย และคนเอเชียส่วนใหญ่ ซึ่งมีอยู่ 1 ใน 3 ของประชากรโลก มีพันธุกรรมที่จะผลิตน้ำย่อยสำหรับย่อยแลคโตสในนม เมื่อตอนแรกเกิด จนถึงตอนเป็นเด็กเล็กเท่านั้น (Ref: Curry, A. Archaeology: The milk revolution. Nature 500, 2013, Campbell, 2005) และที่สำคัญแลคโตสนี้ เป็นน้ำตาลในนมซึ่ง พบในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิดยกเว้นน้ำนมของสิงห์โตทะเล (Ref : Kretchmer N.,1993)
ดังนั้น เมื่อเราโตขึ้น น้ำย่อยตัวนี้จะค่อยลดน้อยลงจนหมดไป? จึงไม่สามารถย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมได้อีก ไม่ว่าเราจะดื่มนมวัว นมแพะ นมแกะ ฯลฯ? เมื่อนมผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ น้ำตาลแลคโตสจะถูกย่อยด้วยจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร เกิดเป็นกรดและแก๊ส เกิดอาการไม่สบายท้อง ต่างๆนานา? ท้องอืด จุกเสียด ผายลม
แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดกับทุกคนนะคะ เพราะยังมีอีกหลายคนที่ดื่มนมแล้วไม่เกิดอาการดังกล่าว นั่นเป็นเพราะ เมื่อโตขึ้น ไปพร้อมๆกับการดื่มนมอย่างต่อเนื่อง ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้มีการผลิตน้ำย่อยมาย่อยเจ้าน้ำตาลแลคโตสในนมตลอด จึงทำให้ร่างกายปรับสภาพได้? ความลับนี้มีที่มายาวนานมาก? เริ่มต้นมาจาก ย้อนเวลากลับไปราว 10,000 ปีก่อน? นักโบราณคดีได้ค้นพบซากวัตถุ ที่ชาวตะวันออกกลางได้เอานมทำชีสและโยเกิร์ต และต่อมาเมื่อราว 6,500 ปีก่อนได้มีการถ่ายทอดมายัง ยุโรปตอนกลางที่ริเริ่มการทำเกษตรกรรมเลี้ยงโคนม แทนการออกไปล่าสัตว์ เพื่อกักตุนอาหาร ในฤดูหนาวที่ยาวนาน ทำให้นมได้เข้ามามีบทบาทในฐานะแหล่งอาหารที่มีคุณประโยชน์สูง และพัฒนาการผลิตชีสและโยเกิร์ตขึ้นตามลำดับ ซึ่งสามารถลดปริมาณน้ำตาลแลคโตสในนมลง ทำให้ชาวยุโรปบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นมได้ในปริมาณมาก และถ่ายทอดความสามารถในการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมมาจนถึงลูกหลาน (Ref Ref: Curry, A. Archaeology: The milk revolution. Nature 500, 2013)
Other Stories
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่าง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัท แมรี่ แอน แดรี่ โปรดักส์ จำกัด
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 น. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิ … Read more