“ฟาร์มโคนม” อาชีพพระราชทาน
อาชีพการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย เป็นอาชีพพระราชทาน
ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2505 เป็นต้นมา สร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนชาวไทย ไม่น้อยกว่า 26,000 ครอบครัว สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์นม ปีละประมาณ 60,000 ล้านบาท
(กรมส่งเสริมสหกรณ์ : ข้อมูล MOU ปี 2557/2558)
เมื่อครั้งในหลวงเสด็จเยือนประเทศเดนมาร์ค พ.ศ. 2503 ทรงเล็งเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนม
จะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคง
และเป็นหลักแหล่ง ลดการถางป่าทำไร่เลื่อนลอย
ในขณะนั้นประเทศเดนมาร์ค ถือได้ว่ามีเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมที่ทันสมัยที่สุด ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจพื้นที่ในประเทศไทย ทีมสำรวจขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจกันตั้งแต่เขาใหญ่จนถึงหัวหิน และพบว่าบริเวณจังหวัดสระบุรี มีธรรมชาติและแหล่งน้ำ เหมาะแก่การทำฟาร์มโคนมที่สุด
ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ได้รวมกลุ่มกันดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์ ตามแนวพระราชดำริเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ส่งผลในวงกว้างในการผลักดันให้รัฐบาล และภาคเอกชนดำเนินการ ส่งเสริมการทำฟาร์มโคนม และเกิดการแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมนมครบวงจร
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระราชกรณียกิจ พระปรีชาสามารถ พระวิริยะอุตสาหะของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อกิจการโคนมไทยดังกล่าว จึงทรงได้รับการน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า ?พระบิดาแห่งการโคนมไทย?
Credit: http://www.dpo.go.th/
Other Stories
ทางเลือกของคนที่ดื่มนมไม่ได้
สำหรับคนที่ดื่มนม แล้วมีไม่สบายท้อง มักแก้ปัญหาด้วยการเลิกดื … Read more